วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กรอบแนวทางการขับเคลื่อนดาวดวงที่ ๒ การอ่านออกเขียนได้...เป็นอย่างไร


                 "การอ่านออกเขียนได้" นับเป็นปัญหาที่สะท้อนความล้มเหลวในการจัดการศึกษา โดยทั่วไปเด็กที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ต้องอ่านออกเขียนได้ ซึ่งหมายความว่า พวกเขาได้เครื่องมือสำหรับนำไปใช้เรียนรู้ ในชั้นที่สูงขึ้นไป นักเรียนทุกคนต้องอ่านออกทุกคนเลยหรือ ? เราอาจได้ยินเสียงนี้ที่สะท้อนมาจากห้องเรียนหรือผู้รับผิดชอบ  คำตอบก็คือ ถ้าคุณภาพของเด็กที่ถูกวัด มีผลเป็นcurve แบบระฆังคว่ำ เป็นสิ่งที่รับได้  แต่ที่เป็นปัญหาก็คือว่า คุณภาพ เป็นแบบระฆังเบ้ซ้าย  นักเรียนที่อ่านไม่ได้เขียนไม่ออกมีมากจริง ๆ มากจนน่าตกใจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต ๔ ซึ่งมี นายกิตติพศ      พลพิลา เป็นผู้อำนวยการ ได้เห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว และมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหา จึงกำหนด  ดาวที่ ๒ การอ่านออกเขียนได้ เป็น หนึ่งใน ห้า ของ โรงเรียนห้าดาว โรงเรียนใดทำได้ มีงบประมาณเป็นกำลังใจให้ต่อยอด หรือ

แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมดาวดวงที่ 2   นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทุกคน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
1.       ความเป็นมาและความสำคัญ
การอ่านและการเขียนภาษาไทยเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้  ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน กล่าวคือ  คนที่มีทักษะในด้านการอ่านและการเขียนอยู่ในเกณฑ์ดี  ก็จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆได้ดี  และสามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล 
จากความสำคัญและความจำเป็นของการอ่านและการเขียนดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยให้อ่านออกเขียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในระดับชั้นที่เรียนและในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปได้เป็นอย่างดี ตลอดจนใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามส่งเสริมและพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปี  จากรายงานผลการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4  ปีการศึกษา  2553พบว่า นักเรียนมีปัญหาการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ 1,667  คน และการเขียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์   2,173  คน ( Emes            สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพฐ.)  นอกจากนี้ผลการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียนในระดับประเทศ National Test  ( NT ) ระดับชั้น ป. 3 ในปีการศึกษา 2552  พบว่า   ยังมีนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านการเขียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร โดยแยกเป็น อ่านไม่ออก   37,000  คน และเขียนไม่ได้  42,000  คน (ข่าวสำนักรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ. 214/2553)  และจากรายงานผลการประเมิน NT ระดับชั้น ป .3 และ ป.6   ปีการศึกษา 2552  ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 พบว่า  นักเรียนมีผลการประเมินการอ่านการเขียนในระดับปรับปรุง ร้อยละ 6.17, 6.71 และ20.26 , 48.16 ตามลำดับ (เอกสาร ศน. 9/2553)   
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ สอง( พ.ศ. 2552-2561) โดยมีวิสัยทัศน์ให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ  และปี  2553 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้  รักที่จะเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย มีความสนุกกับการเรียนรู้ และมีโอกาสเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างสร้างสรรค์  ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  จึงได้นำนโยบายดังกล่าวมากำหนดเป็นจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมีทักษะ ความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น  มีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต  ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์   ตามวัย  โดยเฉพาะนักเรียนชั้น ป. 3  ทุกคนต้องอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ตามมาตรฐานหลักสูตร  
การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   เป็นปัจจัยเชิงคุณภาพพื้นฐานด้านลบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นในระดับชั้นต่อไป โดยภาพรวมควรมีความพยายามทำให้เด็กที่อยู่ต้นทางและปลายทางของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้อ่านอกเขียนได้ทุกคน
จากความสำคัญและความเป็นมาดังกล่าวข้างต้น  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จึงได้นำนโยบายและจุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียนของกระทรวงศึกษาธิการ มากำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนในปีงบประมาณ  2554  เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ  5  ด้าน   ตามโครงการโรงเรียน 5 ดาว ( Five stars  school )  ซึ่งนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นอื่นๆ ต้อง อ่านออกเขียนได้ 100  %  เป็นหนึ่งใน 5  ดาว  ตามโครงการดังกล่าว
2.       เป้าหมายการดำเนินการ
                นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกคน  ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 4
3.  วิธีดำเนินการ/การขับเคลื่อน
                1.จัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนในสังกัด
                2.จัดทำแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย  ให้แก่โรงเรียนในสังกัดนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในทุกระดับชั้น
                3.นิเทศ  ติดตามให้ความรู้และแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในโรงเรียน    ภาคเรียนละ  1  ครั้ง
                4.แจ้งโรงเรียนในสังกัดสมัครเข้ารับการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียน  ภาคเรียนที่  1  สมัครในระหว่างวันที่  27 พฤษภาคม – 4  มิถุนายน  2554   ภาคเรียนที่ 2  สมัครในระหว่างวันที่  24-30  พฤศจิกายน  2554 ( สมัครก่อนรับการประเมิน  ประมาณ  30  วัน)
                5. ประเมินผลการพัฒนาการอ่านการเขียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ภาคเรียนละ 1  ครั้ง 
                    
5.1 ภาคเรียนที่ 1 ประเมินในระหว่างวันที่ 27  มิถุนายน - 4  กรกฎาคม  2554
                     5.2  ภาคเรียนที่  2  ประเมินในระหว่างวันที่  26-30  ธันวาคม  2554  ( การประเมินจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 วัน  และ พร้อมกันทุกโรงเรียนที่สมัครเข้ารับการประเมิน)
4. เครื่องมือ/ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน 
     4.1 ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน  สำหรับใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
การประเมินการอ่านออก

ตัวชี้วัดที่
รายละเอียดตัวชี้วัด
เกณฑ์การประเมิน
1
ผู้เรียนสามารถอ่านคำพื้นฐานได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถอ่านคำได้ถูกต้องร้อยละ 60
2
ผู้เรียนสามารถอ่านประโยคได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถอ่านประโยคได้ถูกต้องร้อยละ 60
3
ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของคำที่อ่าน
และจับใจความสำคัญได้
ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของคำที่อ่าน
ได้ถูกต้อง และจับใจความสำคัญได้ร้อยละ
60       จากที่กำหนด
4
ผู้เรียนสามารถอ่านบทร้อยกรองได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถอ่านบทร้อยกรองได้ถูกต้องร้อยละ 60

การประเมินการเขียนได้

ตัวชี้วัดที่
รายละเอียดตัวชี้วัด
เกณฑ์การประเมิน
1
ผู้เรียนสามารถเขียนคำพื้นฐานได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถเขียนตามคำบอกได้ถูกต้องร้อยละ 50
2
ผู้เรียนสามารถเขียนประโยคได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถเขียนประโยคได้ถูกต้องร้อยละ 50
3
ผู้เรียนสามารถเขียนบรรยายภาพที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถเขียนบรรยายภาพที่กำหนดให้ได้ถูกต้องร้อยละ 50

4.2 ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน  สำหรับใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2, 4-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
การประเมินการอ่านออก

ตัวชี้วัดที่
รายละเอียดตัวชี้วัด
เกณฑ์การประเมิน

ผู้เรียนสามารถอ่านคำพื้นฐานได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถอ่านคำได้ถูกต้องร้อยละ 60

การประเมินการเขียนได้

ตัวชี้วัดที่
รายละเอียดตัวชี้วัด
เกณฑ์การประเมิน

ผู้เรียนสามารถเขียนคำพื้นฐานได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถเขียนตามคำบอกได้ถูกต้องร้อยละ 50

ผู้เรียนแต่ละคนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่านและเขียน ทุกตัวชี้วัด จึงจะถือว่าผ่าน

5. การประเมิน
                5.1 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการอ่านการเขียน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   มีดังนี้
                                5.1.1 แบบประเมินการอ่าน  เป็นแบบประเมินคู่ขนานภาคเรียนละ  3   ฉบับ   แต่ละฉบับจะมี  2  ตอน  ดังนี้
                            ตอนที่
1  เป็นบทร้อยแก้ว  2  ย่อหน้า (เรียบเรียงจากคำพื้นฐานชั้น ป. 3 ) ใช้ประเมินการอ่านคำ  อ่านประโยค  และอ่านข้อความ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำและประโยค ความหมายของคำ และเนื้อเรื่อง
                           ตอนที่
2  เป็นบทร้อยกรอง  1  บท  ใช้ประเมินการอ่านบทร้อยกรอง เพื่อตรวจสอบการอ่านออกเสียงให้ถูกจังหวะ ตามลักษณะของคำประพันธ์  (ไม่ใช่การอ่านทำนองเสนาะ)
                                5.1.2  แบบประเมินการเขียน เป็นแบบประเมินคู่ขนานภาคเรียนละ 3  ฉบับ  แต่ละฉบับจะมี  3  ตอน  ดังนี้
                                 ตอนที่
1  การเขียนตามคำบอก 
                                 ตอนที่
2  การเขียนประโยค   (เขียนเป็นประโยคจากคำที่กำหนดให้ )  เพื่อตรวจสอบความสามารถในการเชื่อมโยงคำที่กำหนดไปยังคำแวดล้อมที่สามารถนำมาสร้างให้เป็นประโยค
                                ตอนที่ 
3   การเขียนบรรยายภาพ ได้  (กำหนดภาพให้ 1  ภาพ แล้วเขียนบรรยายได้ตรงตามภาพที่กำหนดและไม่ตกหล่นในสาระสำคัญ) 
                            5.1.3 วิธีการประเมิน
                                วิธีการประเมินให้โรงเรียนที่สมัครเข้ารับการประเมินจับสลากเลือกชุดแบบประเมิน เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและโปร่งใสในการประเมิน
                                5.1.4 เกณฑ์การตัดสิน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน ต้องผ่านเกณฑ์ด้านการอ่านไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ด้านการเขียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
                5.2  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการอ่านการเขียน สำหรับชั้นประถมศึกษาอื่น  ให้ใช้วิธีการ ดังนี้
                       
5.2.1  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2  วัดการอ่านและเขียนคำพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 แบบนักเรียนอ่านให้ฟัง และเขียนตามคำบอก
                        5.2. 2  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  วัดการอ่านและเขียนคำพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  แบบนักเรียนอ่านให้ฟัง และเขียนตามคำบอก
                        5.2. 3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  วัดการอ่านและเขียนคำทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือจากหนังสือเรียน แบบนักเรียนอ่านให้ฟัง และเขียนตามคำบอก
                        5.2. 4  การคัดเลือกนักเรียนเข้ารับการประเมิน ให้คัดเลือกนักเรียนในชั้นนั้น ไม่เกิน 5  คน ชาย หญิง คละกัน โดยการจับสลากเลขที่ผู้อ่านจากบัญชีเรียกชื่อ โดยให้ครูเป็นผู้จับสลากเอง
                        5.2. 5  เกณฑ์การตัดสิน  นักเรียนทุกคนที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้รับการประเมิน  ต้องผ่านเกณฑ์ด้านการอ่านไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ด้านการเขียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
6. การได้รับรางวัล
                - โรงเรียน   จะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ
                -  ครูผู้สอน   จะได้รับเกียรติบัตร